Ethernet
Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ และ การใช้ Topology ก็จะแตกต่างกันออกไป ดังแสดงตามตารางดังนี้
มาตรฐาน ความเร็วการรับส่งข้อมูล ชนิดของสายสัญญาณ รูปแบบของ Topology
ARCnet 2.5 Mbps Coaxial , UTP Star , Bus
Token Ring 4 หรือ 16 Mbps UTP , STP Ring , Star
Ethernet 10 Mbps Coaxial , UTP Bus , Star
ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะโปรโตคอล Ethernet เท่านั้น ซึ่งโปรโตคอลของ Ethernet นี้ จะอยู่ในมาตรฐานของ IEEE 802.3 โดยได้รับการออกแบบโดย Xerox ในปี 1970 เป็นเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbps แต่ในในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet ดังนี้
ETHERNET
อัตราความเร็ว 10 Mbps บางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐานIEEE 802.3
อัตราความเร็ว 100 Mbps ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3u
อัตราความเร็ว 1000 Mbps ซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3ab อัตราความเร็ว 10 Gbps ซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ae
ซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่
จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้น
ETHERNET
มาตรฐาน การเชื่อมต่อ
10base2
10base5
10baseT
10baseF
100baseT
อัตราความเร็ว การรับส่งข้อมูล
10 Mbps
10 Mbps
10 Mbps
10 Mbps
100 Mbps
ระยะความยาว ในการรับส่งข้อมูล
185 - 200 เมตร
500 เมตร
100 เมตร
2000 เมตร
......... เมตร
Topology ที่ใช้
BUS
STAR
สายที่ใช้ Cable
Thin Coaxial
Thick Coaxial
Twisted Pair (UTP)
Fiber Optic
Twisted Pair (UTP)
ชื่อเรียก
Thin Ethernet หรือ Cheapernet
Thick Ethernet
Fast Ethernet
ข้อสอบ 7 ข้อ
1.Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมีกี่มาตราฐาน
ก.4 มาตราฐาน
ข.3 มาตราฐาน
ค.2 มาตราฐาน
ง.5 มาตราฐาน
ตอบข้อ ข 3 มาตราฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน
1.Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมีกี่มาตราฐาน
ก.4 มาตราฐาน
ข.3 มาตราฐาน
ค.2 มาตราฐาน
ง.5 มาตราฐาน
ตอบข้อ ข 3 มาตราฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน
2.มาตรฐานของ IEEE 802.3 โดยได้รับการออกแบบโดย Xerox ในปีใด
ก.1970
ข.1990
ค.1960
ง.1970
ตอบข้อ ก 1970 เป็นเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbps แต่ในในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีความเร็วที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet
3.มาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบใด
ก.token
ข.cable
ค.coaxial
ง.twisteb
ตอบข้อ ค Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร
4.10 base2 topologyที่ใช้คือ
ก.star
ข.cable
ค.ring
ง.bus
ตอบ ข้อ ง bus
5.สายที่ใช้cable fiber optic มาตรฐานการเชื่อมต่อคือ
ก.10 base2
ข.10 base5
ค.10 basef
ง.100 baset
ตอบข้อ ค 10basef
6.10 baset มีระยะความยาวในการรับส่งข้อมูลกี่เมตร
ก 100 เมตร
ข.2000 เมตร
ค.185-200 เมตร
ง.50 เมตร
ตอบข้อ ก 100 เมตร
7. 10base5 มีชื่อเรียกว่าอะไร
ก.fast Ethernet
ข.Thin Ethernet
ค.Thick Ethernet
ง.cheapernet
ตอบข้อ ค Thick Ethernet
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น